เสียงจากลูกค้า|Sanyo Kasei Thailand Ms.Varunee
ในการพัฒนาผู้จัดการคนไทย ทางเราขอทำการตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากบริษัทผู้จัดให้มีการอบรม Management Development Program ของทางเราครับ
ในครั้งนี้ เราได้รับเกียรติมาขอสัมภาษณ์ คุณวารุณี Director หญิงท่านแรกจากซันโย กรุ๊ปครับ
ภาษาญี่ปุ่น:日本語
บริษัท ซันโย กาเซ(ไทยแลนด์) จำกัด
SANYO KASEI (THAILAND) LTD.
ผู้จัดการทั่วไป / กรรมการ คุณ วารุณี สุจริต
General Manager / Director Ms.Varunee Sucharit
บริษัท SANYO KASEI (THAILAND) LTD. ในเครือของอุตสาหกรรมซันโยนั้น ได้มาก่อตั้งบริษัทที่ประเทศไทยในปี 1997 ครับ
มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ และโรงงานอยู่ที่ เขตอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดระยอง ที่ใช้เวลาขับรถมาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง เป็นบริษัทอุตสาหกรรมทางด้านการผลิตเคมีภัณฑ์ ประเภท สารลดแรงตึงผิว(Surfactants) Coloring และ Specialty Products
คุณวารุณีเข้าร่วมงานบริษัทตั้งแต่ก่อตั้ง และรับความไว้วางใจจากผู้บริหารคนญี่ปุ่นที่มาประจำประเทศไทยหลายรุ่น
ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นกรรมการบริษัทในปี 2018 “ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่พนักงานที่จ้างงานในประเทศได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บริหารนี้”
และได้มีการสัมภาษณ์และเผยแพร่ไปภายในเครือของแต่ละประเทศ ทำให้พนักงานจำนวนมากมีความหวังที่จะได้รับโอกาสเช่นนี้ครับ
ทางบริษัท ผู้บริหารระดับกลางที่เป็นคนไทยมีประเด็นเรื่องยังไม่ค่อยตระหนักถึงในหน้าที่ตนเองหรือเรื่องการตัดสินใจ รวมถึงความสามารถในเรื่องบริหารจัดการ ดั้งนั้นคุณอะรากิ ประธานคนก่อน กับคุณวารุณีจึงได้เป็นแกนหลักในการจัดให้มีการอบรม MDP ในเรื่องการบริหารจัดการในครั้งนี้ครับ
ในปี 2020 มีการตัดสินใจให้มีการอบอรมเรื่องการบริหารจัดการ(MDP) แต่เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดทำให้มีการอบรมจริงใน ปี 2022 และติดตามผลจนเสร็จสิ้นในเดือนพฤศจิกายน ปี 2022 ครับ
เว็บไซต์ของทางบริษัท: https://www.sanyo-kasei.co.th/EN/home.html
(บทความและผู้สัมภาษณ์ : WS PARTNERS Senior Consultant นิชิโอะ ทาเคชิ)
นิชิโอะ: ก่อนอื่นอยากขอความกรุณาทางคุณวารุณีช่วยแนะนำตัวกับทางเราด้วยครับ
คุณ วารุณี: ชื่อวารุณีค่ะ เข้าทำงานที่บริษัทซันโย กาเซ มาปีนี้เป็นปีที่ 23 แล้วค่ะ ทางบริษัทเราเป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ประเภท สารลดแรงตึงผิว(Surfactants) Coloring และ Specialty Products ค่ะ
นิชิโอะ: ขอสอบถามครับ มีประเด็นอะไรเลยอยากจัดให้มีการอบรมเทรนนิ่งหรือไม่ครับ?
คุณ วารุณี: ผู้เข้ารับการอบรมเป็นมืออาชีพที่มีสกิลหรือทักษะด้านการทำงานส่วนบุคคลสูงค่ะ แต่คิดว่าถ้าพัฒนาความสามารถด้านการบริหารจัดการให้สูงขึ้นได้ ความสามารถด้านความร่วมมือภายในแผนกรวมถึงระหว่างแผนกก็คงพัฒนาได้ดีขึ้น ก็เลยจัดให้มีการอบรมการบริหารจัดการในครั้งนี้ค่ะ
นิชิโอะ: แปลว่าพวกเขาสามารถทำงานได้ดีแต่เรื่องการบริหารจัดการบุคคล หรือมุมมองในแนวกว้างนั้นยังไม่ได้เต็มที่สินะครับ?
คุณ วารุณี: ค่ะ ตามที่กล่าวมา แต่พวกเขายังอายุน้อย คิดว่าแต่ล่ะคนยังสามารถพัฒนาไปได้อีกค่ะ
นิชิโอะ: แปลว่าคาดหวังให้พวกเขาเป็นบุคลากรที่จะคอยค้ำจุนดูแลบริษัทในอนาคตใช่ไหมครับ?
คุณ วารุณี: ค่ะ ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมาระดับ Top Management ก็เป็นคนญี่ปุ่นมาตลอด ดิฉันเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติเป็นผู้บริหารระดับสูงแต่ก็คิดว่าอยากเพิ่มบุคคลากรระดับผู้บริหารระดับสูงคนไทยเพิ่มค่ะ
นิชิโอะ: และในเงื่อนไขเหล่านั้น เหตุผลที่เลือกบริษัทเราให้มาเทรนนิ่งคืออะไรครับ?
คุณ วารุณี: ตอนแรกเรื่องการเทรนนิ่ง (MDP) ก็ยังไม่ทราบค่ะ แต่ได้รับข้อมูลมาจากคุณอะรากิ ประธานในตอนนั้นมา ก็รู้สึกว่าเหมาะกับบริษัทเรา ซึ่งดิฉันเองก็คิดว่าเป็นโอกาสอันดีด้วยก็เลยตัดสินใจจัดให้มีการอบรมขึ้น ผลลัพธ์ก็เป็นที่น่าพอใจค่ะ
ซึ่งถ้าเทียบค่าใช้จ่ายการเทรนนิ่งของบริษัทของไทยแล้วราคาสูงมากกว่าก็จริง แต่เมื่อคิดถึงผลในระยะยาวแล้วก็จึงอยากทดลองเลือกโปรแกรมนี้ที่ราคาสูงกว่าแต่ได้รับผลลัพธ์ที่ดีกว่าค่ะ
ภาพถ่ายที่ได้ได้รับการอนุญาตตอนทำงานในออฟฟิศ
นิชิโอะ: ถ้างั้น ผลลัพธ์ที่ได้อบรมเป็นอย่างไร ขอความกรุณาเล่าให้ทางเราได้ไหมครับ
คุณ วารุณี: ก็มีพูดคุยกับผู้อบรมโดยตรงว่าเนื้อหาที่เรียนไปใช้ประโยชน์ได้มากค่ะ แต่ผลลัพธ์แต่ล่ะคนจะแตกต่างกันไปค่ะ โดยเฉพาะคุณ S. ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดค่ะ
จากที่ดิฉันดู การพูดคุยงานระหว่างตัวเขาและผู้ใต้บังคับบัญชา มีลักษณะที่เริ่มรับฟัง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับผู้ใต้บังคับบัญชาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมาก ณ ตอนนี้เขาควบคุมอารมณ์ได้ดีค่ะ แล้วก็สะท้อนผ่านผลลัพธ์นั้นกลับมาในการทำงานค่ะ
นิชิโอะ: ได้ยินมาว่าคุณ S. ทำงานกับคุณ วารุณี ด้วยกันมาเกิน 20 ปีใช่ไหมครับ
คุณ วารุณี: ค่ะ ทำงานด้วยกันมาตลอด 21 ปีค่ะ เมื่อก่อนเขาจะไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาเท่าไหร่
คิดว่าความคิดของตนเองถูกต้อง แต่ตอนนี้บรรยากาศทั้งหมดดีขึ้นมากที่พูดคุยลำบากหรืออึดอัดก็หายไปหมดเลยค่ะ การมอบหมายหรือสั่งงานต่างๆ ก็เป็นไปด้วยดี เพราะได้รับความไว้ใจ ทำให้บรรยากาศภายในแผนกเปลี่ยนไปเลยค่ะ
นิชิโอะ: แล้วการมอบหมายงานหรือสั่งงานของเขาที่เปลี่ยนไปอย่างรูปธรรมเป็นอย่างไรบ้างครับ?
คุณ วารุณี: เมื่อก่อนจะเป็นคนที่แสดงอารมณ์ออกมาถ้าไม่ตรงตามที่ใจคิดก็จะแสดงออกทางวิธีการพูดและสีหน้าอย่างชัดเจนค่ะ ตอนนี้จะเก็บอารมณ์ไม่แสดงออกมาแล้วก็ให้คำแนะนำกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดีเลยค่ะ
ไม่ใช่แค่ภายในแผนกเท่านั้นแต่การประชุมผู้จัดการระหว่างแผนกเองก็รับฟังอีกฝ่ายเมื่อความคิดเห็นไม่ตรงกันด้วยค่ะ
โรงงานของซันโย กาเซในไทย ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดระยอง
นิชิโอะ: ผู้เข้าอบรมในครั้งนี้ นอกจากคุณ S. ก็มีคุณ U. ที่มีประเด็นเรื่องความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาสินะครับ
คุณ วารุณี: ทางเขาเองก็มีเรื่องการพูดคุย และการรับฟังกับผู้ใต้บังคับบัญชารวมถึงความถี่ในการรับฟังเองก็เปลี่ยนแปลงไปมากค่ะ ต่างจากเมื่อก่อน ตอนนี้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ใต้บังคับบัญชา แล้วก็รับฟังเรื่องราวของอีกฝ่ายด้วยค่ะ
แม้ปัจจุบันเขาจะอยู่แผนกที่มีคนน้อยแต่สมัยที่อยู่ฝ่ายผลิต เขาไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของสต๊าฟและโอเปเรเตอร์ค่ะ คิดว่าที่ตนเองคิดนั้นถูกต้อง
นิชิโอะ: ตามที่กล่าวเลยครับ ในการสัมภาษณ์ก่อนทำการอบรม ก็ได้ฟังจากเจ้าตัวว่าผู้ใต้บังคับบัญชาสมัยอยู่ฝ่ายผลิตไม่ฟังคำสั่งที่มอบหมายงานเท่าไหร่ด้วยครับ
คุณ วารุณี: ค่ะ เท่าที่ดู คิดว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากตัวเขาในอดีตด้วยค่ะ
นิชิโอะ: ตอนนี้หลังจากเทรนนิ่งจบก็ปรับปรุงแก้ไขแล้วครับ คุณ U. เองก็บอกด้วยว่านำเรื่องที่เรียนไปใช้กับครอบครัวของตนเองด้วยครับ
คุณ วารุณี: เป็นเรื่องที่ดีมากเลยค่ะ
นิชิโอะ: นอกจากนี้ คุณ K. ที่เข้าอบรมก็ดูทั้งฝ่ายบุคคล แอดมิน Innovation รวมถึง QC ด้วย เกี่ยวกับตัวเขาอยากขอความกรุณาช่วยเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงที่รู้สึกในก่อนและหลังการอบรมให้ทางเราได้ไหมครับ?
คุณ วารุณี: คิดว่าเขาน่าจะเป็นคนที่เข้าใจวัตถุประสงค์และรายละเอียดในการอบรมครั้งนี้มากที่สุดค่ะ
แต่เดิมเป็นคนที่ควบคุมอารมณ์เก่งอยู่แล้ว เลยอาจจะไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่แต่ก็เริ่มพูดคุยงานกับผู้ใต้บังคับบัญชาผู้หญิงที่ไม่ถนัดได้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน สร้างความสัมพันธ์เรื่องความร่วมมือในการทำงานได้ดีขึ้นค่ะ คิดว่าหลังจากนี้ก็คงทำเพื่อบริษัทต่อไปด้วยค่ะ
นิชิโอะ: ตามที่กล่าวเลยครับ ระหว่างการอบรมก็บอกว่า “ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เมื่อก่อนไม่มารายงานก็เริ่มมารายงานแล้ว” ด้วยครับ
นิชิโอะ: คนต่อไปคุณ P. เป็นอย่างไรบ้างครับ เห็นว่างานยุ่งมาก เรื่องที่เรียนไปก็นำไปปฏิบัติลำบากด้วยครับ
คุณ วารุณี: ทางเขาเพิ่งได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากซูเปอร์ไวเซอร์มาไม่นานดังนั้นอาจจะยังไม่ชินค่ะ
ความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีกับผู้ใต้บังคับบัญชาตั้งแต่สมัยก่อนเองก็ต่างฝ่ายโตขึ้นพอเวลาผ่านไปก็เลยดีขึ้นค่ะ
นิชิโอะ: รับทราบครับ ถ้างั้นรบกวนช่วยกรุณาบอกข้อดี ข้อสียของการเทรนนิ่งนี้ด้วยครับ
คุณ วารุณี: ข้อดี คือ เอาเรื่องที่เรียนรู้นำไปปฏิบัติและเป็นเรื่องดีที่ได้รับฟีดแบ็คส์กลับมาค่ะ
อีกทั้ง มีการสัมภาษณ์ก่อนอบรม รายงานระหว่างการอบรม และสัมภาษณ์หลังจบการอบรม ทำให้ทราบสถานะและลักษณะการเปลี่ยนแปลงของผู้เข้าอบรมได้ดีค่ะ
ข้อเสีย คือ ระหว่างการอบรมคือระหว่างการทำงาน เกรงว่าถ้ามีงานด่วนเข้ามาก็ทำให้ประสิทธิภาพการอบรมลดลงค่ะ และคิดว่าบางครั้งเวลาที่ใช้ในการนำไปปฏิบัติเองก็ไม่พอด้วยค่ะ
ตัวฉันเองก็อยากไปดูผู้เข้าอบรมมากกว่านี้ด้วยค่ะ
นิชิโอะ: คิดว่าการเทรนนิ่งนี้เหมาะสมกับบริษัทลักษณะไหนครับ
คุณ วารุณี: คิดว่าเหมาะสมกับตั้งแต่ระดับซูเปอร์ไวเซอร์จนถึงผู้ที่จะขึ้นไปในฝ่ายบริหารของบริษัทในอนาคต รวมถึงคนที่อยากพัฒนาหลังจากนี้ค่ะ
นิชิโอะ: คำถามเกี่ยวกับการเทรนนิ่งในครั้งนี้ มีเท่านี้ครับ สุดท้ายนี้ อยากขอความกรุณาช่วยบอกแนวทางที่ท่านคิดหลังจากนี้ของบริษัทท่านด้วยครับ
คุณ วารุณี: เนื่องจากเป็นบริษัทในไทย ดังนั้นคิดว่าให้คนไทยเป็นศูนย์กลางในการบริหารดีกว่าค่ะ
และให้มี Advisor จากทางญี่ปุ่นมาช่วยแบบนี้ก็จะดีมากๆ ค่ะ
นิชิโอะ: ทางพวกเราเองก็ขอเป็นกำลังใจให้กับการพัฒนาของบริษัทซันโย กาเซ (ไทยแลนด์) จำกัดด้วยครับ ในวันนี้ต้องขอขอบพระคุณมากครับ
(บทความและผู้สัมภาษณ์ : WS PARTNERS Senior Consultant นิชิโอะ ทาเคชิ)